วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

สรุปบัญชีบริหาร

การบัญชีบริหาร
สรุปโดยใช้หนังสือหลักการบัญชีบริหาร
ของ
รศ.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบัญชีบริหาร

ความแตกต่างระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชีบริหาร
การบัญชีการเงิน การบัญชีบริหาร
1. มุ่งเสนอข้อมูลแก่บุคคลภายนอก 1. มุ่งเสนอข้อมูลแก่ผู้บริหาร
2. จัดทำขึ้นภายใต้ข้อบังคับต่าง ๆ 2. ไม่อยู่ภายใต้กรอบข้อบังคับ
3. จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไป 3. ยืดหยุ่นตามประเด็นปัญหาของการ
ตัดสินใจ
4. ต้องเสนอข้อมูลที่มีความถูกต้อง เที่ยงธรรม 4. เน้นข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ
5. เป็นข้อมูลทางการเงินที่เกิดขึ้นในอดีต 5. เน้นข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
6. เสนอข้อมูลในภาพรวมของกิจการ 6. มุ่งเน้นเสนอข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
7. เสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของกิจการ 7. เสนอข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและข้อมูลจาก
เป็นหลัก ปัจจัยภายนอก เช่น เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย
8. ข้อมูลจะถูกเสนอตามรอบระยะเวลาบัญชี 8. ข้อมูลจะถูกเสนอตามเวลาที่ผู้บริหารต้องการ

ลักษณะของข้อมูลทางการบัญชีบริหาร
1. เป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องหรือมีการพยากรณ์ที่ใกล้เคียงความจริงที่จะเกิดขึ้นมากที่สุด
2. ข้อมูลจะต้องรวดเร็วและทันเวลาสำหรับการตัดสินใจ
3. ข้อมูลจะต้องมีความกะทัดรัดชัดเจนและสมบูรณ์
4. ข้อมูลที่ได้จะต้องคำนึงถึงต้นทุน (Cost) และผลตอบแทน (Benefit)





บทที่ 2
แนวคิด ความหมายและการจำแนกประเภทของต้นทุน
(Cost Concepts, Terms and Classifications)
แนวคิดในการจำแนกต้นทุน
1. ต้นทุนตามหน้าที่
1.1 ต้นทุนการผลิต (Manufacturing Costs)
· วัตถุดิบทางตรง (Direct material)
· ค่าแรงงานทางตรง (Direct labor)
· ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Manufacturing overhead)
1.2 ต้นทุนไม่เกี่ยวกับการผลิต (Non-manufacturing Costs)
· ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling expense)
· ค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไป (General administrative expense)
2. ต้นทุนตามความสามารถในการจำแนกตามหน่วยต้นทุน
2.1 ต้นทุนทางตรง (Direct costs)
2.2 ต้นทุนทางอ้อม (Indirect costs)
3. ต้นทุนตามความสัมพันธ์กับรายได้ในช่วงเวลาหนึ่ง
3.1 ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product costs) ต้นทุนของสินค้าคงคลัง
3.2 ต้นทุนงวดเวลา (Period costs) หรือ ต้นทุนขาย (Cost of good sold)
4. ต้นทุนตามพฤติกรรมของต้นทุน
4.1 ต้นทุนผันแปร (Variable costs)
4.2 ต้นทุนคงที่ (Fixed costs)
4.3 ต้นทุนผสม (Mixed costs)
5. ต้นทุนตามความเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ
5.1 ต้นทุนที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ (Controllable and non-controllable costs)
5.2 ต้นทุนมาตรฐาน (Standard costs)
5.3 ต้นทุนส่วนต่าง (Differential costs)
5.4 ต้นทุนจม (Sunk costs)
5.5 ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ (Avoidable costs)
5.6 ต้นทุนเสียโอภาส (Opportunity costs)
ความแตกต่างของงบการเงินระหว่างกิจการผลิตสินค้าและกิจการซื้อ-ขายสินค้า
กิจการผลิตสินค้าจะมีบัญชีสินค้าคงคลังอยู่ 3 ประเภท คือ
1. วัตถุดิบ (Raw Material)
2. งานระหว่างทำ (Work in Process)
3. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods)
กิจการซื้อ-ขายสินค้าจะมีบัญชีสินค้าคงคลังเพียงบัญชีเดียว

กิจการผลิตสินค้า
ขาย xxx
หัก ต้นทุนขาย :
สินค้าสำเร็จรูปต้นงวด xxx
บวก ต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป xxx
สินค้าที่มีไว้เพื่อขาย xxx
หัก สินค้าสำเร็จรูปปลายงวด xxx xxx
กำไรขั้นต้น xxx
หัก ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร xxx
กำไรสุทธิ xxx

ต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป
วัตถุดิบทางตรงใช้ไปในการผลิต :
วัตถุดิบทางตรงต้นงวด xxx
บวก ซื้อวัตถุดิบทางตรงระหว่างงวด xxx
วัตถุดิบทางตรงมีไว้ใช้ในการผลิตทั้งสิ้น xxx
หัก วัตถุดิบทางปลายงวด xxx xxx
ค่าแรงงานทางตรง xxx
ค่าใช้จ่ายในการผลิต xxx
ต้นทุนการผลิตที่เกิดระหว่างงวด xxx
บวก งานระหว่างทำต้นงวด xxx
ต้นทุนการผลิตทั้งสิ้น xxx
หัก งานระหว่างทำปลายงวด xxx
ต้นทุนผลิตสินค้าสำเร็จรูป xxx
บทที่ 5
พฤติกรรมต้นทุนและการประมาณต้นทุน
(Cost Behavior and Estimation)

ลักษณะพฤติกรรมของต้นทุน
แนวคิดและการจำแนกชนิดของต้นทุนในลักษณะของพฤติกรรมต้นทุนซึ่งได้แบ่งพฤติกรรมของต้นทุนออกเป็น 3 พฤติกรรมคือ
· ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือ ต้นทุนชนิดต่าง ๆ ที่มีจำนวนของต้นทุนรวมเปลี่ยนแปลงไปในสัดส่วนโดยตรงต่อปริมาณหรือระดับกิจกรรม
· ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) คือ ต้นทุนที่มีจำนวนต้นทุนรวมไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณหรือระดับกิจกรรม
· ต้นทุนผสม (Mixed Costs) คือ ต้นทุนซึ่งประกอบด้วยต้นทุนส่วนที่ผันแปรและส่วนที่คงที่อยู่ด้วยกัน บางครั้งอาจจะมีลักษณะที่เรียกว่า ต้นทุนกึ่งผันแปร(Semi-variable Costs)
การวิเคราะห์ต้นทุนที่มีพฤติกรรมผสมและการประมาณต้นทุน
วิธีการวิเคราะห์พฤติกรรมต้นทุนสามารถจำแนกต้นทุนผสมให้ออกมาเป็นต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร สมการในทางคณิตศาสตร์ที่นำมาใช้ในการจำแนกต้นทุนผสมและประมาณต้นทุนมีลักษณะเป็นสมการเส้นตรงดังนี้
y = a + bx
โดยที่
y = จำนวนรวมของต้นทุนผสม
x = จำนวนระดับกิจกรรม เช่น ปริมาณการผลิต ปริมาณการจำหน่าย
หรือ จำนวนชั่วโมงแรงงานทางตรง
a = ต้นทุนส่วนที่คงที่
b = อัตราต้นทุนส่วนที่ผันแปรต่อ x
วิธีที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อจำแนกต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรออกจากต้นทุนผสม
1. วิธีสูง – ต่ำ (The high – low method)
2. วิธีแผนภาพ ( The scattergraph method)
3. วิธีกำลังสองน้อยที่สุด (The least squares method) หรือวิธีสมการถดถอยอย่าง่าย (Simple regression analysis)
วิธีสูง – ต่ำ (The high – low method) เป็นวิธีที่ใช้ในการจำแนกต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรออกจากต้นทุนผสมโดยใช้ข้อมูล 2 ข้อมูล คือ ข้อมูลต้นทุนผสมที่ระดับกิจกรรมต่ำสุดและข้อมูลต้นทุนที่ระดับกิจกรรมสูงสุดซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นที่ 1 เลือกข้อมูลต้นทุนผสม ณ ระดับสูงสุดและต่ำสุด
ขั้นที่ 2 คำนวณอัตราต้นทุนผันแปร (b) จากสูตรดังนี้
อัตราต้นทุนผันแปร =

ต้นทุนผสม ณ ระดับกิจกรรมสูงสุด - ต้นทุนผสม ณ ระดับกิจกรรมต่ำสุด
____________________________________________________________
ระดับกิจกรรมสูงสุด - ระดับกิจกรรมต่ำสุด
ขั้นที่ 3 คำนวณหาต้นทุนคงที่จากสูตร
ต้นทุนคงที่ = ต้นทุนผสม ณ ระดับสูงสุด (หรือต่ำสุด) – ต้นทุนผันแปร ณ ระดับสูงสุด (หรือต่ำสุด)

วิธีแผนภาพ ( The scattergraph method) เป็นการนำข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนผสมที่รวบรวมมาได้ไปกำหนดในแผนภาพโดยกำหนดให้แกนตั้งเป็นจำนวนเงิน และให้แกนนอนเป็นระดับของกิจกรรม จากนั้นให้ทำการลากเส้นตรงโดยพิจารณาจากสายตาว่า เส้นตรงดังกล่าวจะลากผ่านจุดต่าง ๆ ได้อย่างใกล้เคียงที่สุด

วิธีกำลังสองน้อยที่สุด เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นวิธีที่สามารถใช้ข้อมูลต้นทุนที่รวบรวมมาได้ทั้งหมดมาทำการคำนวณตามหลักสถิติ ทำให้ข้อมูลที่ได้รับมีความเชื่อถือได้มากที่สุดอย่างไรก็ตามการคำนวณหาค่า a และ b ใช้ฟังก์ชันในโปรแกรม Excel คำนวณค่าจุดตัดที่แกนตั้ง (Intercept) ซึ่งมีความหมายเท่ากับค่า a หรือต้นทุนคงที่ ในขณะที่ค่า b หรือต้นทุนผันแปรก็จะมีค่าเท่ากับค่าความชัน (Slope) ของเส้นต้นทุนที่ทำการวิเคราะห์

การวิเคราะห์ต้นทุนโดยใช้วิธีกำลังสองน้อยที่สุดหรือวิธีสมการถดถอยอย่างง่ายถือเป็นวีทางสถิติซึ่งต่างจากการวิเคราะห์ต้นทุนด้วยวิธีสูง – ต่ำ ทำให้สามารถหาค่าทางสถิติบางตัวเพื่อบอกความถูกต้องแม่นยำและความเชื่อถือได้ในผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีการสมการถดถอยเช่น
· สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation coefficient = r) และสัมประสิทธิ์ของตัวกำหนด (Coefficient of determination = r2)
· ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานในการประมาณค่า (Standard error of the estimation = Se

บทที่ 6
การวิเคราะห์ต้นทุน – ปริมาณ – กำไร
(Cost-Volume-Profit Analysis)

แนวคิดเกี่ยวกับกำไรส่วนเกิน
กำไรส่วนเกิน (Contribution Margin = CM) คือ กำไรในส่วนที่จะไปชดเชยต้นทุนคงที่ ดังนั้นกำไรส่วนเกินคือ ส่วนเกินของยอดขายจากต้นทุนผันแปรของการดำเนินงาน
กำไรส่วนเกิน = ยอดขาย - ต้นทุนผันแปร
การวิเคราะห์จุดคุมทุน
จุดคุ้มทุน (Break-even point) หมายถึง จุดการดำเนินงานที่กิจกรรมไม่มีกำไรและไม่ขาดทุนสามารถวิเคราะห์ได้ 3 วิธีคือ
· วิธีการใช้สมการ (The equation approach)
· วิธีกำไรส่วนเกิน (The contribution approach)
· วิธีแผนภาพ (The graphical approach)

วิธีการใช้สมการ (The equation approach)
กำไรสุทธิ = ยอดขาย - ต้นทุน
วิธีกำไรส่วนเกิน (The contribution approach)
จุดคุ้มทุน (หน่วย) = FC / P - VC
จุดคุ้มทุน (บาท) = จุดคุ้มทุน (หน่วย) X ราคาขายต่อหน่วย
วิธีแผนภาพ (The graphical approach)
เป็นวิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนด้วยแผนภาพหรือแผนภูมิ ต้นทุนผันแปรและต้นทุนคงที่จะเป็นแกนตั้งและปริมาณจะถูกกำหนดเป็นแกนนอน
เป้าหมายกำไร และส่วนเกินที่ปลอดภัย
กรณีที่ 1 การกำหนดเป้าหมายกำไรเป็นจำนวนเงินที่แน่นอนสามารถใช้สมการดังนี้
ยอดขาย(บาท) = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่ + กำไรที่ต้องการ
กรณีที่ 2 การกำหนดกำไรเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย
X = FC
_____________________
P - VC - %(P)

ผลกระทบจากภาษีเงินได้
ปริมาณขายเพื่อให้ได้กำไรสุทธิตามที่ต้องการ
FC + (กำไรหลังหักภาษี / ( 1 – Tax Rate))
______________________________________
P - VC

การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยอดขายที่มีกำไร

เราสามารถวัดระดับการเปลี่ยนแปลงของกำไรต่อการเปลี่ยนแปลงของยอดขายได้ในลักษณะที่เรียกว่า
“Degree of Operating Leverage = DOL
สูตร DOB = กำไรส่วนเกิน
____________________
กำไรก่อนหักภาษี (EBIT)

การแปลความหมาย ถ้ายอดขายเปลี่ยนแปลงไป 1% กำไรก่อนหักภาษีจะเปลี่ยนแปลงไป xxx %
(ผลจากการคำนวณค่า DOL)
















บทที่ 7
วิธีต้นทุนผันแปรและการรายงานผลการดำเนินงาน
(Variable Costing and Performance Reporting)

วิธีต้นทุนผันแปร
ขาย xxx
หัก : ต้นทุนผันแปร :
ต้นทุนผันแปร xxx
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารผันแปร xxx xxx
กำไรส่วนเกิน xxx
หัก : ต้นทุนคงที่ :
ค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ xxx
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารคงที่ xxx xxx
กำไรสุทธิ xxx

















บทที่ 8
การจัดทำงบประมาณเพื่อการวางแผนและควบคุมกำไร
(Budgeting for Profit Planning and Control)

1. งบประมาณดำเนินงาน ประกอบด้วย
1.1 งบประมาณการขาย รวมทั้งการคำนวณกระแสเงินสดรับจากการขาย
1.2 งบประมาณผลิต
ปริมาณการผลิตโดยประมาณ =
ปริมาณการขายโดยประมาณ + ปริมาณสินค้าคงเหลือปลายงวด - ปริมาณสินค้าคงเหลือปลายงวด
1.3 งบประมาณซื้อวัตถุดิบทางตรง
ปริมาณวัตถุดิบที่ซื้อ =
ปริมาณการผลิตโดยประมาณ + วัตถุดิบคงเหลือปลายงวด - วัตถุดิบคงเหลือต้นงวด
1.4 งบประมารค่าแรงงานทางตรง
1.5 งบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิต
1.6 งบประมาณสินค้าคงเหลือปลายงวด
1.7 งบประมาณต้นทุนขาย
1.8 งบประมาณค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
1.9 งบประมาณเงินสด
1.10 งบประมาณกำไรขาดทุนโดยประมาณ
1.11 งบดุลโดยประมาณ
1.12 งบกระแสเงินสดโดยประมาณ










บทที่ 13
การวิเคราะห์การลงทุน
(Capital Budgeting Decision)
ขั้นตอนการวิเคราะห์โครงการลงทุน
1. ประมาณการกระแสเงินสดสุทธิ
2. ประเมินความเสี่ยงของเงินสดสุทธิที่จะได้รับในอนาคต
3. กำหนดค่าของทุนหรือต้นทุนของเงินลงทุน
4. คำนวณจำนวนเงินที่กิจการต้องจ่ายลงทุนในครั้งแรก
5. วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ

เครื่องมือการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจลงทุน
1. งวดระยะเวลาคืนทุน (Payback Period = PP) กฎการตัดสินใจ เลือกลงทุนในโครงการลงทุนที่มีงวดระยะเวลาคืนทุนสั้นที่สุดเพราะระยะเวลาคืนทุนที่สั้นมากเท่าใดก็จะมีความเสี่ยงในการดำเนินงานน้อยมากเท่านั้น
2. อัตราผลตอบแทนทางบัญชี (Accounting Rate of Return = ARR) หรืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ย(Average Rate of Return) กฎการตัดสินใจ ควรเลือกลงทุนในโครงการที่ให้ค่า ARR สูงที่สุด หรือสูงกว่าอัตราผลตอบแทนที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานในการตัดสินใจลงทุนของแต่ละกิจการ สูตรการคำนวณ ARR = กำไรสุทธิ / เงินลงทุนเฉลี่ย
เงินลงทุนเฉลี่ย = เงินลงทุนเริ่มแรก + ค่าซาก / 2
3. มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) การคำนวนหามูลค่าปัจจุบันของเงินสดสุทธิที่กิจการจะได้รับในอนาคตจะคำนวณคิดลดด้วยต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) หรืออัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการ กฎการตัดสินใจ ถ้า NPV เป็นบวก กิจการก็ควรที่จะยอมรับการลงทุนในโครงการนั้น แต่ถ้า NPV มีค่าติดลบกิจการก็ควรจะปฏิเสธการลงทุน
4. อัตราผลตอบแทนจากโครงการลงทุน (IRR) คือ อัตราผลตอบแทนจากโครงการลงทุนที่ทำให้ PV ของเงินสดรับสุทธิที่มีค่าเท่ากับเงินลงทุนหรืออีกนัยหนึ่งก็คือ NPV มีค่าเท่ากับ 0 กฎการตัดสินใจ ควรยอมรับโครงการลงทุนถ้า IRR มีค่าเกินกว่าต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) หรืออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนที่ต้องการ
5. ดัชนีความสามารถในการทำกำไร PI คือ อัตราส่วนระหว่างมูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับสุทธิตลอดอายุโครงการ (PV) กับเงินลงทุนเริ่มแรก กฎการตัดสินใจ การคำนวณหาค่า PI มักจะใช้ประโยชน์ในเรื่องของการจัดลำดับความสามารถในการทำกำไรของโครงการต่าง ๆ โดยโครงการที่ควรจะตัดสินใจลงทุนจะต้องมีค่า PI มากกกว่า I ทั้งนี้เพราะจะมีค่า NPV มีค่าเป็นบวกด้วย
สูตร PI = PV / I
PV = มูลค่าปัจจุบันของโครงการ
I = เงินลงทุนเริ่มแรก





























บทที่ 15
การวิเคราะห์งบการเงิน
(Financial Statement Analysis)

การวิเคราะห์และแปลความหมายของอัตราส่วนการเงิน
การนำข้อมูลที่ได้รับจากการคำนวณโดยอัตราส่วนการเงินชนิดต่าง ๆ มาทำการวิเคราะห์และแปลความหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ตามวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ สามารถใช้เทคนิคของเปรียบเทียบข้อมูลได้ 3 แนวทาง คือ
1. ใช้การเปรียบเทียบกับอัตราส่วนทางการเงินในอดีตหรือในปีก่อนของกิจการเดียวกัน
2. ใช้การเปรียบเทียบเกี่ยวกับอัตราส่วนทางการเงินที่มีการกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน
3. ใช้การเปรียบเทียบกับอัตราส่วนทางการเงินของกิจการอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปรียบเทียบกับกิจการที่มีลักษณะเป็นคู่แข่งขันทางการค้า

ก. อัตราส่วนวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratios)
การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินของธุรกิจ เป็นการวัดระดับความสามารถของธุรกิจที่จะสามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้คล่องตัวมากน้อยเพียงใด
ข้อสังเกต
- อัตราทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick or Acid-test Ratio) สินทรัพย์หมุนเวียนใช้เฉพาะ เงินสด,หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดและลูกหนี้การค้าเท่านั้น ไม่ใช่ สินค้าคงคลังและค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าในการคำนวณ
ข. อัตราส่วนวิเคราะห์สมรรถภาพในการดำเนินงาน (Activity Ratios)
ข้อสังเกต
- อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ใช้ยอดขาย หาร ด้วย ลูกหนี้เฉลี่ย (ลูกหนี้ต้น + ปลาย / 2)
- ระยะเวลาเก็บหนี้ใช้ 365 วัน ในการคำนวณ
- อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังใช้ ต้นทุนสินค้าที่ขาย หาร ด้วย สินค้าคงคลังเฉลี่ย ( สินค้าต้นงวด + สินค้าคงเหลือปลายงวด / 2 )
- อายุของสินค้าคลังใช้ 365 วัน ในการคำนวณ
ค. อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratios)
เจ้าหนี้ระยะยาวจะให้ความสนใจต่อความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินในอนาคตของกิจการ อัตราส่วนของกลุ่มนี้จะมุ่งเน้นไปที่การวัดความเสี่ยงในการดำเนินงานของธุรกิจจากการมีหนี้สินระยะยาว
ง.อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรและมูลค่าของธุรกิจ (Profitability Ratios) การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรของกิจการและผลตอบแทนที่มีต่อเงินทุน

บัญชี 1

บัญชีการก่อหนี้ (เป็นดาบสองคม)
ถ้าผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ > ต้นทุนต่อหนี้ (อัตราดอกเบี้ย)
การก่อหนี้จะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) สูงขึ้น
ROI = กำไรสุทธิ
เงินลงทุน
ถ้ากิจการใช้เงินลงทุนจากส่วนของเจ้าของทั้งหมด
ROI = 28000 = 14 %
200000
ถ้ากิจการใช้เงินลงทุนจากส่วนของเจ้าของ : หนี้ ในสัดส่วน 50 : 50


ทุนส่วนของเจ้าของทั้งหมด
ทุน : หนี้
กำไรจากการดำเนินงาน
ดอกเบี้ย
28000
0
28000
10000
กำไรสุทธิ
28000
18000

แต่...

ทุนส่วนของเจ้าของทั้งหมด
ทุน : หนี้
กำไรจากการดำเนินงาน
ดอกเบี้ย
2000
0
2000
10000
กำไรสุทธิ
2000
-8000

ROE = กำไรสุทธิ
ทุนส่วนของเจ้าของ

ถ้าใช้ของเจ้าของทั้งหมด ROE = 2000 = 1%
200000

ถ้าก่อหนี้ด้วย ROE = -8000 = -8%
100000


การบัญชีบริหาร à เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผน+ควบคุมการดำเนินงานภายในกิจการ รวมถึงการวิเคราะห์
ข้อมูลทางการบัญชีการเงินเพื่อการตัดสินใจ
การบัญชีต้นทุน à เน้นเฉพาะในส่วนของการคิดต้นทุนผลิตภัณฑ์+การใช้ข้อมูลทางด้านต้นทุนของกิจการ เพื่อการวางแผน
ควบคุม+ตัดสินใจเท่านั้น

กำไรส่วนเกิน = ยอดขาย - ต้นทุนผันแปร è เป็นส่วนที่จะไปชดเชยต้นทุนคงที่
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย = ราคาขายต่อหน่วย - ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
è อัตรากำไรส่วนเกิน = 1 – อัตราต้นทุนผันแปร

จุดคุ้มทุน
ยอดขาย = ต้นทุนผันแปร + ต้นทุนคงที่ + 0 (กำไรสุทธิ)

จุดคุ้มทุน (หน่วย) = ต้นทุนคงที่
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย
จุดคุ้มทุน (บาท) = ต้นทุนคงที่
อัตรากำไรส่วนเกิน
= จุดคุ้มทุน (หน่วย) x ราคาขายต่อหน่วย
กำไรหลังหักภาษี
1 - อัตราภาษี
ภาษี
ปริมาณขายเพื่อให้ได้กำไรสุทธิตามต้องการ = ต้นทุนคงที่ +
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย

Margin of safety è บริษัทสามารถทำยอดได้ต่ำกว่าที่คาดไว้กี่% จึงจะไม่ขาดทุน
อัตราส่วนเกินที่ปลอดภัย (%) = ยอดขายโดยประมาณ - ยอดขายจุดคุ้มทุน
ยอดขายโดยประมาณ

Degree of Operating Leverage

DOL = กำไรส่วนเกิน
กำไรก่อนหักภาษี
บริษัทที่มีค่า DOL สูงแสดงว่า มีค่าต้นทุนคงที่ > ต้นทุนผันแปร
ทำให้มีจุดคุ้มทุน + ความเสี่ยงสูงด้วย

เครื่องมือการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจลงทุน
1. Payback Period è เลือกลงทุนในโครงการที่มีงวดระยะเวลาคืนทุนสั้นที่สุด
เพราะความเสี่ยงในการดำเนินงานจะน้อยกว่า
2. ARR è เลือกลงทุนในโครงการที่ให้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย/หรืออัตราผลตอบแทนทางบัญชีสูงที่สุด
ARR = กำไรสุทธิ (ต้องหักค่าเสื่อมออกด้วย)
เงินลงทุนเริ่มแรก หรือ เงินลงทุนโดยเฉลี่ย = เงินลงทุนเริ่มแรก+ค่าซาก
2

3. NPV è เลือกลงทุนในโครงการลงทุนที่มีค่าเป็นบวก (ค่าสูง à ดี)
NPV = PV – Investment

4. IRR è เลือกลงทุนในโครงการที่ IRR > ต้นทุนของเงินทุน (ดอกเบี้ย)
IRR = อัตราผลตอบแทนของโครงการลงทุนที่ทำให้ NPV = 0
หรือ ที่ PV ของเงินสดรับสุทธิ = เงินลงทุน

5. PI è เลือกลงทุนในโครงการที่มีค่า > 1 เพราะจะทำให้ NPV มีค่าเป็น + ด้วย
ดัชนีความสามารถในการทำกำไร (PI) = PV
Investment

การจัดลำดับโครงการลงทุน è ดูจากค่า PI ที่มากที่สุดให้เป็นอันดับหนึ่งเรียงลำดับ



ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ)
EOQ = √2(ความต้องการ)(ต้นทุนในการสั่งซื้อ)
ต้นทุนในการเก็บรักษาต่อหน่วย

การเปรียบเทียบงบการเงิน
1. ใช้ดัชนีวิเคราะห์แนวโน้ม เป็นการวิเคราะห์ตามแนวนอน
รายการ
2544
2545
2546
2547
2548
ขาย
ต้นทุนขาย
กำไรขั้นต้น
ค่าใช้จ่ายในการขาย+บริการ
กำไรสุทธิ
100
100
100
100
100
103
104
101
101
100
127
129
124

101
145
150
138

95
158
164
141

61
พบว่า กำไรสุทธิของกิจการตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมามีแนวโน้มที่ลดลง

2. การวิเคราะห์ในแนวดิ่ง (Common-Size Analysis)

งบดุลเปรียบเทียบ
2547 2548
สินทรัพย์หมุนเวียน :
เงินสด 9.0 5.9
. .
. .
รวมทรัพย์สิน 100 100
หนี้สิน+ส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สิน 17.5 17.2
ส่วนของผู้ถือหุ้น 60.6 58.9
รวมหนี้สิน+ส่วนของผู้ถือหุ้น 100 100

งบกำไรขาดทุนเปรียบเทียบ
2547 2548
ขาย 100 100
หัก ต้นทุนขาย 61.3 62.9
กำไรขั้นต้น 38.7 39.1
หัก คชจ.ในการดำเนินงาน . .
กำไรจากการดำเนินงาน . .
หัก ดอกเบี้ยจ่าย . .
กำไรก่อนหักภาษี . .
หัก ภาษี . .
กำไรสุทธิ 1.4 0.8
*** การวิเคราะห์แบบนี้จะชี้วัดว่าสัดส่วนแหล่งที่มา+แหล่งที่ใช้ไปเหมาะสมกันหรือไม่ ชี้ความเสี่ยงทางการเงินของกิจการ

Ratio

ระยะเวลาเก็บหนี้ = 365
อัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้
มีค่าสูง แสดงว่า ระยะเวลาในการเก็บหนี้จะสั้น (ดี)


อายุของสินค้าคงคลัง = 365
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)
มีค่าต่ำ แสดงว่า อายุของสินค้าคงคลังมาก หมายความว่า
- การบริหารจัดการสินค้าคงคลังขาดประสิทธิภาพ
- สินค้าคงคลังล้าสมัย ไม่สามารถจำหน่ายได้เร็ว




Total Asset Turnover
อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ทั้งหมด ถ้าลดลงแสดงว่าการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ต่างๆ ของกิจการในการก่อให้เกิดรายได้แก่กิจการมีประสิทธิภาพที่ลดลง

มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น = สินทรัพย์สุทธิ – ทุนหุ้มบุริมสิทธิ์
จำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้ว

อัตราผลตอบแทนเงินปันผล = เงินปันผลจ่ายต่อหุ้น
ราคาคลาดของหุ้นสามัญ

อัตราส่วนเงินปันผลจ่ายต่อกำไร = เงินปันผลจ่ายต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้น

อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน = กำไรสุทธิ
เงินลงทุนทั้งหมด

อัตราผลตอบแทนในสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ + ดอกเบี้ยจ่าย (สุทธิจากภาษี)
สินทรัพย์รวมโดยเฉลี่ย

อัตราส่วนตอบแทนในส่วนของเจ้าของ = กำไรสุทธิ + เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์
ส่วนของเจ้าของโดยเฉลี่ย (ส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ)

กำไรต่อหุ้น = กำไรสุทธิ + เงินปันผลหุ้นบุริมสิทธิ์
จำนวนหุ้นสามัญที่จำหน่ายแล้ว

อัตราส่วนราคาต่อกำไร = ราคาตลาดของหุ้นสามัญ
กำไรต่อหุ้น